วันอาทิตย์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2551

บทสรุป
การอนุรักษ์ เผยแพร่วัฒนธรรม การพัฒนาภูมิปัญญาตามสภาวะปัจจุบัน

เพลงอีแซวเป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมจากประชาชนทั่วไปเป็นอย่างมากจาก นางเกลียว เสร็จกิจ หรือ แม่ขวัญจิต ศรีประจันต์ ซึ่งเป็นผู้ที่มีความสามารถสูง สามารถสร้างสรรค์เนื้อเพลงและรูปแบบการแสดงได้อย่างโดดเด่น ได้เผยแพร่ผลงานเพลงพื้นบ้านตามสถาบันต่างๆ และได้รับเชิญไปร้องเพลงตามสถานีวิทยุและรายการโทรทัศน์ต่างๆ จนทำให้เพลงอีแซวเป็นที่รู้จัก ของประชาชนทั่วประเทศ ขวัญจิต ศรีประจันต์ เป็นผู้ที่มีส่วนสำคัญในการเผยแพร่อนุรักษ์เพลงพื้นบ้านของไทย และช่วยเหลือสังคมอยู่เสมอ และเมื่อปี พ.ศ. 2539 จึงได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติประกาศ เกียรติคุณเป็นศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง (เพลงพื้นบ้าน-เพลงอีแซว) จากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ สร้างชื่อเสียงและนำความภาคภูมิใจมาให้จังหวัดสุพรรณบุรีเป็นอย๋างมาก ทำให้ประชาชนในท้องถิ่นต่างๆ เกิดความสนใจและหันมานิยมเพลงอีแซวกันอย่างกว้างขวาง ส่งผลให้เกิดการรวมตัวตั้งเป็นคณะเพลงอีแซวกันมากขึ้นทั้ง ภายในและนอกชุมชน ตั้งศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาไทย (แบบชุมชน) ชื่อ "ศูนย์การเรียนรู้เพลงอีแซวพื้นบ้าน"
การแสดงปัจจุบันคณะเพลงอีแซว ได้นำเพลงลูกทุ่ง หรือเพลงตามสมัยนิยม มาร้องเสริม หรือ สลับรายการ และได้นำเครื่องดนตรีสากล เช่น กลองชุด กลองทอม เบส มาใช้ประกอบการแสดง รวมทั้งมีการประดับตกแต่งเวทีด้วยไฟแสงสีต่างๆ ทำให้ทั้งเวทีและการแสดงมีความสวยงามและสามารถดึงดูดความสนใจของผู้ชมได้มาก อย่างไรก็ตาม ได้พัฒนา ปรับประยุกต์รูปแบบของการแสดง เพื่อให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมมาโดยตลอด ให้เป็นที่พึงพอใจและได้รับการยอมรับจากประชาชนทั่วไป ทำให้คณะเพลงอีแซวของแม่ขวัญจิต ศรีประจันต์ จึงยังคงได้รับความสนใจและมีประชาชนว่าจ้างให้ไปเล่นในงานต่างๆ อยู่เสมอ

ไม่มีความคิดเห็น: