วันอาทิตย์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2551

ลักษณะเฉพาะของเพลงพื้นบ้าน

ลักษณะเฉพาะของเพลงพื้นบ้าน
ลักษณะเพลงพื้นบ้าน จะมีความเรียบง่ายในถ้อยคำ เน้นความสนุกสนานเป็นหลัก เนื้อหาส่วนใหญ่จะเป็นคำบอกเล่าจากพ่อเพลง แม่เพลง เนื้อหาสาระของเพลงพื้นบ้านที่ร้องกัน ดูเหมือนจะมีอย่างเดียว ไม่ว่าทำนองเพลงจะเป็นชนิดใด คือเรื่องผู้ชายเกี้ยวผู้หญิง แล้วผู้หญิงก็ตอบ หรือ ซักถาม หรือว่าผู้ชายให้เจ็บ ๆ เท่านั้น สิ่งสำคัญในการร้อง อยู่ที่ผู้ร้องเพลงต้องคิดด้นกลอนสด ร้องแก้กันด้วยปฏิภาณอันทำให้เกิดรสสนุกขึ้น ผู้ว่าเพลงมีความชำนาญ แคล่วคล่องขึ้น จึงคิดหาหนทางแยกแยะการร้องเพลงไปต่าง ๆ นานา เช่น ลักหา พาหนี ชิงชู้ ตีหมากผัว เป็นต้น
ทุกภาคของไทยมีเพลงพื้นบ้านในลักษณะที่เป็นเพลงปฏิพากย์ ( Dialogue Songs ) คือ “เพลงที่ชายหญิงร้องโต้ตอบกัน” มีความแตกต่างกันไปบ้าง ตามลักษณะวัฒนธรรมประจำท้องถิ่น เช่น ภาษา ท่วงทำนอง เนื้อหา เครื่องดนตรี การร่ายรำ การแต่งกาย และโอกาสที่ร้อง ทั้งนี้จำแนกเพลงปฏิพากย์ตามภาคต่าง ๆ ออกได้เป็น 2 กลุ่ม ( ภูมิจิต เรืองเดช , 2529:54-55 )
1. เพลงปฏิพากย์ในภาคเหนือและภาคอีสาน มีส่วนที่เหมือนกันโดยพิจารณา จากบทร้องเป็นการ เกี้ยวพาราสีระหว่าง ชายหญิง เนื้อหาเป็นเรื่องความรัก ส่วนใหญ่ร้องเป็นบทเบ็ดเตล็ดมากกว่าเป็นเรื่องยาว ลักษณะการร้องไม่กระแทกลงจังหวะ แต่จะทอดเสียงให้เข้ากับทำนองเพลง เครื่องดนตรีเป็นประเภทเครื่องดีด เครื่องสี เครื่องเป่า
2. เพลงปฏิพากย์ในภาคกลาง และภาคใต้ เพลงพื้นเมืองภาคใต้มีลักษณะที่คล้ายคลึงกับเพลงภาคกลางมากที่สุด โดยเฉพาะในโวหารสองง่าม บางบทมีเค้าว่ามีการถ่ายทอดเนื้อเพลงไปต่อ ๆ กัน ทำให้เกิดการพ้องกันขึ้น
เพลงพื้นบ้าน เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ควรค่าแก่การศึกษาและอนุรักษ์ไว้ซึ่งใน จังหวัดสุพรรณบุรีมีเพลงพื้นบ้านที่ได้รับการยอมรับและเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดสุพรรณบุรี คือ “เพลงอีแซว” โดยมีประวัติความเป็นมาและมีรายละเอียดเกี่ยวกับการแสดงเพลงอีแซว ดังนี้

ไม่มีความคิดเห็น: