วันจันทร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2551

ยอดขายและส่วนครองตลาด

ผลิตภัณฑ์จักสานแจกันดินเผาแนวจิตรกรรมไทย เป็นผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา เป็นคุณค่าของงานหัตถกรรมฝีมือคนไทยที่ผสมผสานศิลปะจิตรกรรมฝาผนังโบสถ์ลงในเครื่องปั้นดินเผาเพื่อให้งานออกมาทรงคุณค่า ทำให้ราคาผลิตภัณฑ์สูง สำหรับผู้ที่รักความเป็นไทย
สำหรับยอดขายของผลิตภัณฑ์จักสานเครื่องปั้นดินเผาแนวจิตรกรรมไทย ในช่วงเวลา 1 เดือน สามารถทำยอดขายได้ประมาณ 200 ชิ้น เนื่องจากกำลังการผลิต ผลิตสินค้าได้เดือนละประมาณ 200 ชิ้น ผลิตเท่าไรก็ขายหมดทำให้ภายในเวลา 1 ปี ทางกลุ่มศิลปหัตถกรรมบ้านธรรมกุล มียอดขายผลิตภัณฑ์โดยรวมประมาณ 2,400 ชิ้น ซึ่งส่วนครองตลาดถ้าเป็นผลิตภัณฑ์จักสานแจกันดินเผาแนวจิตกรรมไทยก็ถือว่าเต็ม 100 % เพราะคู่แข่งทางตรงยังไม่มีประกอบกับทางกลุ่มมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์อยู่ตลอดเวลา เพื่อให้มีผลิตภัณฑ์หลายๆรูปแบบเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด
หมายเหตุ : เนื่องจากทางกลุ่มมีผลิตภัณฑ์หลายชนิด หลายรูปแบบ หลายขนาด ทำให้ไม่ทราบยอดขายที่เป็นจำนวนเงิน (บาท) ทราบแต่เพียงยอดขายที่เป็นจำนวน (ชิ้น)-11-
กลยุทธ์ราคา (Pricing Strategies)
การกำหนดราคาสินค้า ทางกลุ่มใช้กลยุทธ์ราคาสูงเพื่อให้สอดคล้องกับตลาดระดับสูงที่กำหนดไว้ การตั้งราคาสินค้าไว้สูงเพื่อแสดงถึงภาพลักษณ์ตำแหน่งสินค้าที่อยู่ในระดับสูง
กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาด (Promotion Strategies)
โดยทางกลุ่มใช้กลยุทธ์ดึง (Pull Strategy) ให้การส่งเสริมการตลาด เป็นกลยุทธ์ที่ใช้ในการโฆษณาหรือการส่งเสริมการขายที่ทำให้กับผู้บริโภคอย่างกว้างขวาง โดยการใช้ใบปลิว แผ่นพับ ให้กับคนที่ดูงานเพื่อเป็นรายละเอียดให้กับผู้ที่มาดูงาน
งบประมาณ
ราคา ราคาขายส่ง ราคาขายปลีก
400 บาท 600 บาท
ต้นทุนสินค้า
ค่าใช้จ่ายในการทำผลิตภัณฑ์
แจกันดินเผา 20 บาท
ค่าลงแปรน 35 บาท
ค่าตัดเส้น 45 บาท
ค่าสานผักตบ 80 บาท
ค่าติดเปีย 20 บาท
ค่าสี 50 บาท
ค่าทำเท็คเจอร์ 20 บาท
ค่าเคลือบวาณิช 4 บาท
ค่าเล็คเกอร์สเปรย์ 7 บาท
ค่าเล็กเกอร์ด้าน 3 บาท
ค่ายูริเทน 4 บาท
รวมต้นทุน 278 บาท
กำไร 122 บาท 322 บาท
หมายเหตุ : ราคาขายปลีกมาจากราคาขายส่ง x50% = 200+400 = 600 บาท
ราคา ราคาขายส่ง ราคาขายปลีก
600 บาท 900 บาท
ราคาขาย
ต้นทุนทางการตลาด
ค่าโสหุ้ย 9 บาท
ค่าบรรจุภัณฑ์ 170 บาท
ค่าป้ายฉลาก 1 บาท
รวมต้นทุนทั้งสิ้น 458 บาท
กำไร 142 บาท 442 บาท
หมายเหตุ : ราคาขายปลีกมาจากราคาขายส่ง x50% = 300+600 = 900 บาท
ต้นทุนป้ายฉลาก
ค่าเพจ 3,500 บาท ค่ากระดาษ 1,000 บาท
ค่าพิมพ์ 2,500 บาท ค่าแรงงาน 3,000 บาท
รวมค่าป้ายฉลาก 1,000 บาท (ทำได้ 10,000 ชิ้น จะได้ชิ้นละ 1 บาท)

ไม่มีความคิดเห็น: